Tuesday, October 1, 2013

แรงผลักดัน

 ขอกลับมาเขียนส่วนนี้อีกครั้ง ครั้งแรกนั้นเขียนไว้เมื่อ 6 ปีที่แล้ว (2550) ตอนนั้นยังเรียนอยู่ที่เมืองหลวง มหานครกรุงเทพ ฯ ก็เป็นโอกาศดี ที่หวนกลับมาเรียนต่ออีกครั้งและเป็นถิ่นล้านนาแท้ๆ จริงได้โอกาสสานต่อความตั้งใจ ที่อยากจะ อ่านออก เขียนได้ ในภาษาอักขระล้านนา เพราะคำแรกที่พูดได้ ก็สำเนียงล้านนา พอต้องเรียนหนังสือก็ร่ำเรียนแต่ ภาษาไทยกลางและภาษาต่างประเทศ ทำให้คนส่วนใหญ่ในผืนแผ่นดินล้านนา ไม่สามารถ อ่าน-เขียน ภาษาที่ตัวเองพูดได้ เราควรเริ่มตระหนักตรงความเป็นจริงอันนี้

แรงจูงใจที่ทำให้ตัวผมเองมาศึกษา

- ตัวผมเองก็เป็นคนล้านนาโดยกำเนิดอยู่แล้ว หากไม่เรียนรู้ภาษาล้านนาแล้วจะให้ใครเรียนละครับ

- เห็นตัวหนังสือสวยดี รู้สึกว่าถ้าอ่านออก-เขียนได้ จะดูดีไม่ใช่น้อย (อันนี้คิดไปเองครับ)

- มีเพื่อนเคยบวชและศึกษาอักษรล้านนา ที่สำคัญใช้เวลาไม่นานก็พอจะอ่านออก-เขียนได้บ้าง

- สังเกตเห็นอย่างหนึ่ง คือ สมัยเด็ก (2530) เห็น ตามวัดยังมีการเรียนการสอนภาษาล้านนาให้กับ
พระ-เณร แต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว ซึ่งจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนในทันที เมื่องานเทศกาล "สลากพัตร" แต่ที่บ้านเรียก "งานกิ๋ข้าวสลาก" มาถึง ถ้าเส้นสลากเขียนด้วยภาษาล้านนา เณร จะอ่านไม่ได้ หรือแม้แต่ พระ บางรูปก็ไม่สามารถ หากยังเป็นอย่างนี้ต่อไปจะหาคนที่รู้ภาษาล้านนายาก อาจจะมีในหมู่นักศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ผมคิดว่าไม่ควรที่จะเป็นอย่างนั้น ดังนั้นกระผมจึงเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้

( ถึงแม้จะมีเพียงไม่กี่คนก็ตามที่จะสนใจ แต่อย่างน้อยก็มีเราคนหนึ่งละ! มันเป็นความสุขที่เราไม่ได้ละเลยในสิ่งที่ควรจะทำ )

(ส่วนนี้ต้องอภัยจริงๆ ผมอยากให้ข้อความนี้เป็นหน้าแรกจึงเขียน ให้เป็นอนาคต เพราะผมไม่ทราบวิธีว่าทำยังไงให้ขึ้นหน้าแรกตลอดไป จึงต้องแก้เวลาโพสนี่แหละครับ และอีกอย่างครับ เอกสารส่วนใหญ่ผมจะพยายามเขียนด้วยลายมือ แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมาก แต่ผมยังชอบลายมืออยู่ดีครับ) 

Thursday, October 11, 2012

บทสรุป ของนักเรียนชั้นต้น (พยัญชนะและสระ)

เมื่อเริ่มต้นที่จะหัดเขียนหัดอ่าน ผมก็นึกย้อนไปสมัยที่ อ่านหนังสือยังไม่ได้ สมัยอนุบาลเราต้อง ท่องจำ หัดออกเสียง หัดเขียนคัดลายมือ "ก-ฮ" การเรียนอักษรล้านนาก็ต้องใช้กลยุทธเดียวกันครับ ต้องท่องและจำพยัญชนะให้ได้ หัดเขียนให้ได้ มาเริ่มที่พยัญชนะและเสียงอ่านกันก่อนครับ

Tuesday, October 9, 2012

บทสรุป ของนักเรียนชั้นต้น ณ วัดพระสิงห์ (จ. เชียงใหม่)

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาผมสอบปลายภาคเรียบร้อยสำหรับ นักเรียนชั้นต้น ภาษาอักขรล้านนา ในชั้นผมได้เรียนรู้กับ พ่อครู-แม่ครู สามท่าน ขอกราบขอบพระคุณครับ สำหรับความรู้ที่ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ ในบทความนี้ผมจะเขียนสรุปโดยรวมว่าที่ผมเรียนมานั้นผมได้รับความรู้อะไรบ้าง มันมีกระบวนการ ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยาวแต่คิดว่าจะมีประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น บทความนี้แบ่งเป็นห้าตอน

1. หัดท่องจำ และฝึกหัดคัดลายมือ พยัญชนะและสระ
2. การแจกตัวสะกด แม่ ต่างๆ
3. ฝึกอ่านขยันเขียน (หัด อ่าน-เขียน และการแต่งค่าวเบื้องต้น)
4. การเขียนแบบบาลี ตัวข่มตัวซ้อนและำคำพิเศษ
5. บทสรุป

Monday, September 17, 2012

แบบเฝิกหัด

ในการเขียนแบบฝึกคัดลายมือชุดนี้ ได้อ้างอิงจากหนังสือเรียน ภาษาล้านนา ฉบับวัดพระสิงห์
จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ แต่ยังยืนยันว่าการอ่านจากหนังสือและเรียนกับผู้รู้ จะดีกว่ามากๆ
เพราะได้ความรู้ที่ลึกซึ้งและครอบคลุมกว่า

ผมไปเจอ web blog ดีๆ ครับ ใน blog มีแบบฝึกหัดให้โหลดกันด้วย ลองดูตามนี้ครับ
====> ภาษาล้านนา : ตั๋วเมือง Lanna Script

แบบคัดลายมือ 1 หัดคัดอักขระ พยัญชนะเบื้องต้น
(พยัญชนะ กำเมืองฮ้องว่า ตั๋ว เช่น ตั๋ว ก๋ะ)
แบบคัดลายมือ 2                      สระ ต่างๆ และการประสมสระ เบื้องต้น                       (สระ กำเมืองฮ้องว่า ไม้ เช่น ไม้โก๋)
แบบคัดลายมือ 3
การแจกแม่ ต่างๆ เข้าไปเป๋นตั๋วสะกด
แบบคัดลายมือ 4
กำ พิเศษต่างๆ ที่ควรรู้

Sunday, September 16, 2012

ภาษิตล้านนา


แถมตวยเปสนากำตวายละอ่อน (ได้ยินตั้งแต่สมัยหน้อยๆละ ชอบขนาด)


(ช่วงนี้ขาดเรียนครบสามอาทิตย์เข้าไปแล้ว คงต้องตามจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนละครับงานนี้ ) 

 














Wednesday, July 11, 2012

การเขียนภาษาอักขระล้านนา เรื่อง ตัวข่มตัวซ้อน

ว้นอาทิตย์ที่ผ่านมา 8 ก.ค. 2555 เข้าชั้นเรียน เขียนการแจกแม่ กั๋ง มี ตั๋ว ง๊ะ เป็นตัวสะกด ท้ายๆคาบมี อ. จรีย์ สุนทรสิงห์ เข้ามาสอนการเขียน ตัวข่มตัวซ้อน ในการเขียนภาษาด้วยอักขระล้านนา ได้ความรู้เยอะครับ มีคำพูดหนึ่งที่ท่านพูดเกี่ยวกับ ตัวข่มตัวซ้อน ว่าถ้าไม่ใช้ก็อ่านได้เขียนได้ แต่เขาไม่นิยม อีกอย่าง "เปิ้ลจะว่าฮู้บ่แต้" จากความรู้วันนั้นพอจะสรุปได้ดังนี้ครับ

...55... ยังสรุปไม่ได้ ศาสตร์ขั้นสูงขอลองก่อนค่อยสรุปดีกว่านะ